แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เคล็ดลับหน้ารู้ อื่นๆ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เคล็ดลับหน้ารู้ อื่นๆ แสดงบทความทั้งหมด

31/5/57

10 เคล็ดลับ เลิกบุหรี่ (No Smoking) เพื่อสุขภาพที่ดี



10 เคล็ดลับ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดี

      เคล็ดลับต่อไปนี้ คือ การปฏิบัติอย่างง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ 10 เคล็ดลับ เลิกบุหรี่ 3 หา 7 ไม่


1. หาที่ปรึกษา 

      พยายามขอคำปรึกษาจากคนที่คุณรู้จักที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จมาแล้ว หรือโทรศัพท์ ขอคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ได้ที่ โทร.1600




2. หากำลังใจ
 
     คุณควรบอกให้คนใกล้ชิดทราบถึงความตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ เพราะกำลังใจจากคนรอบข้างจะช่วยให้คุณมีความพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้




3. หาเป้าหมาย
     คุณควรวางแผนการปฏิบัติตัว โดยกำหนดวันที่จะลงมือเลิกสูบบุหรี่ อาจจะเลือกวันสำคัญต่างๆ ของครอบครัว เช่น วันเกิดตัวเองหรือของลูก วันครบรอบแต่งงาน แต่ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดวันที่ห่างไกลเกินไป




4. ไม่รอช้า
     คุณควรเตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ให้หมด เตรียมผลไม้รสเปรี้ยวหรือของขบเคี้ยว เพื่อช่วยลดความอยาก รวมทั้งเปลี่ยนกิจกรรมที่คุณมักทำร่วมกับการสูบบุหรี่




5. ไม่หวั่นไหว
      เมื่อถึงวันลงมือ ควรตื่นนอนด้วยความสดชื่น บอกตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเองและคนใกล้ชิด ทบทวนถึงเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ใกล้ชิดกับคนที่ไม่สูบบุหรี่





6. ไม่กระตุ้น
     ในระหว่างนี้ขอให้คุณหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ เช่น ถ้าเคยดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์




7. ไม่หมกมุ่น 
     เมื่อรู้สึกเครียด ให้หยุดพักสมองสักครู่ คลายความเครียด โดยการพูดคุยกับคนอื่นๆ หรือหาหนังสือขำขันมาไว้อ่านบ้างก็ได้ ระลึกถึงเสมอว่า มีคนไม่สูบบุหรี่อีกมากที่คลายเครียดได้โดยไม่ต้องสูบบุหรี่



8. ไม่นิ่งเฉย
     ควรจัดเวลาออกกำลังกายบ้างอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เพราะนอกจากจะเป็นการควบคุมน้ำหนัก ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง เพิ่มประสิทธิภาพของหัวใจและปอด



9. ไม่ท้าทาย
     อย่าคิดว่ากลับไปลองสูบบ้างเป็นครั้งคราวคงไม่เป็นไร เพราะการลองสูบบุหรี่เพียงมวนเดียวอาจหมายถึงการหวนคืนไปสูความเคยชินเก่าๆ อีก คุณมาไกลมากแล้ว




10 ไม่ท้อแท้
     หากต้องหันกลับไปสูบอีก ไม่ได้หมายถึงคุณเป็นคนล้มเหลว อย่างน้อยคุณก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตัวเอง ในคราวต่อไป ขอเพียงพยายามต่อไปที่จะเตรียมตัวต่อสู้อีกจนหยุดบุหรี่ให้ได้


อย่สูบบุหรี่กันเลยนะค่ะเปลื่องตังยังไม่พอเสียสุขภาพอีก



30/5/57

สปา(SPA) คืออะไร



สปา คืออะไร

       ความหมายที่ 1สปา มาจากภาษาลาตินว่า “Sanitas Per Aquas” หรือ Senare Per Aqua 

หรือ “Salus Per Aquam” หรือ Sanare Per Aquam ซึ่งแปลความได้ว่า สุขภาพจากสายน้ำ
 การบำบัดด้วยน้ำ หรือการดูแลสุขภาพโดยการใช้น้ำ (Health Through Waters or To Heal 
Through Water)       ความหมายที่ 2สปา มาจากชื่อของเมืองเล็ก ๆ ใกล้กับเมืองลีห์ (Liege) 
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเบลเยี่ยม ติดกับชายแดนของประเทศเยอรมันนี เป็นเมืองที่เ
ป็นแหล่งน้ำพุที่มีแร่เหล็กตามธรรมชาติ เชื่อกันว่าในปี 1326 ช่างเหล็กของเมือง Collin Le 
Loupe ได้ยินชื่อเสียงของน้ำพุดังกล่าวเกี่ยวกับสรรพคุณในการรักษาโรค จึงดั้นด้นเสาะหาจน
พบ และน้ำพุนั้นสามารถรักษาอาการป่วยไข้ของเขาให้หายไปได้จริง ๆ ภายหลังสถานที่แห่งนั้น
ถูกยกย่องให้เป็น Health Resort ที่โด่งดังและเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการรักษาสุขภาพและอา
การเจ็บป่วยต่าง ๆ ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักในนามของ Espa ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่หมายถึง น้ำพุ ในปัจจุบัน
คำดังกล่าวถูกใช้ในภาษาอังกฤษว่า “Spa” ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในความหมายของสถานที่ตาก
อากาศเพื่อสุขภาพ (Health Resort)       ความหมายที่ 3สปาอีกหนึ่งความเชื่อที่มีแนวคิดคล้ายคลึง
กันก็คือ “Spa” เป็นชื่อของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเบลเยี่ยม ที่ซึ่งมีแหล่งน้ำแร่หรือน้ำพุร้อนตาม
ธรรมชาติปรากฏอยู่ และถูกค้นพบโดยชาวโรมันโบราณ ทหารโรมันนิยมใช้น้ำพุแห่งนี้เป็นที่รักษา
อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือบาดแผลที่ได้รับจากการสู้รบ       ความหมายที่ 4สปาหมายถึงการ
บำบัดดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยวิธีทางธรรมชาติที่ใช้น้ำเป็นองค์ประกอบในการบำบัดควบคู่
ไปกับวิธีทางการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ โดยใช้ศาสตร์สัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียงและสัม
ผัส เป็นปัจจัยที่สร้างภาวะสมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ อารมณ์       ความหมายที่ 5 
สปาเป็นการบำบัดแบบองค์รวมที่เน้นการป้องกันการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษา Wildwood, 
Chrissie, 1997 กล่าวว่าการที่อารมณ์แปรปรวนมีโอกาสทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากความหมาย
ข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่า “สปา” คือ การบำบัดด้วยน้ำ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้
การดูแลของนักบำบัด ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ รวมถึงเป็นสถานที่ใช้ในการพักผ่อนเพื่อให้ได้มาซึ่ง
สุขภาพองค์รวมที่ดี นภารัตน์ ศรีละพันธ์, 2549ในเชิงความเชื่อตามประวัติศาสตร์ สปาหมายถึง
สถานที่ที่มีน้ำพุตามธรรมชาติที่ซึ่งสามารถบรรเทาและรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ ได้ 
ซึ่งน้ำเหล่านี้สร้างศรัทธาและความเชื่อถือทางจิตวิญญาณอย่างมาก โดยยังคงความเป็นปริศนา
ในการบำบัดโรคภัยในเชิงร่วมสมัย เป็นสถานที่อำนวยความสะดวก และทุ่มเทให้กับทั้งทางด้าน
การบำบัดทั้งกายภาพและจิตใจ อารมณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่ดีและชีวิตที่ผาสุก สปาต้องใช้
น้ำในแง่ของการให้การรักษาและบำบัด โดยมีพื้นฐานมาจากการใช้ประโยชน์ของวิตามินและเกลือ
แร่จากธรรมชาติ สปาร่วมสมัย ยังให้การบรรเทาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ผ่านการรักษาด้วย
วิธีทางการแพทย์ที่ครบครัน ผ่อนคลายความตึงเครียด ให้การดูแลและทะนุถนอมทั้งความงามทาง
ร่างกายและอารมณ์ ความรู้สึก ณ ปัจจุบันนี้ สปาได้สร้างเอกลักษณ์ขึ้นมาได้อย่างเด่นชัดในเรื่อง
ของสถานที่และการตกแต่งที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม














องค์ประกอบของสปา

       ตามคำนิยามของ The International SPA Association (ISPA) สปาประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ

10 ประการ ได้แก่
1. น้ำ (Water) สามารถนำไปใช้ได้หลายรูปแบบทั้งภายใน เช่น การดื่ม การกิน และภายนอก เช่น 

การอบ การแช่ หรือการนำมาเป็นส่วนประกอบในการบริการและการตกแต่งสถานที่
2. การบำรุง (Nourishment) เช่น อาหารสุขภาพ เครื่องดื่มสมุนไพรและสารอาหารบำรุงต่าง ๆ
3. การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (Movement, Exercise & Fitness) การเคลื่อนไหวในท่า

ทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ กัน สร้างความกระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงาน เช่น การออกกำลังกาย
แบบต่าง ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บริการห้องออกกำลังกาย
4. การสัมผัส (Touch) เช่น การนวดและการสัมผัสที่สื่อสารความรู้สึกต่าง ๆ ให้ความรู้สึกที่อบอุ่น 

ผ่อนคลาย และบำบัดอาการปวดเมื่อย
5. Integration กิจกรรมสุขภาพที่บูรณาการความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างกาย ความคิด จิตใจ

จิตวิญญาณกับสภาพแวดล้อม
6. ศาสตร์ด้านความงาม (Aesthetics) การบำรุงรักษาความงามกับกระบวนการที่ใช้ผลิตภัณฑ์พืช

พรรณธรรมชาติ สมุนไพรต่าง ๆ ที่มีผลกับร่างกายมนุษย์
7. สภาพแวดล้อม (Environment) สถานที่ตั้งประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพภูมิอากาศที่

เหมาะสม การออกแบบตบแต่ง รูปแบบบรรยากาศดี ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
8. การแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรม (Art, Culture & Social) เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สร้างความ

สุนทรียะและประทับใจในเวลาที่ได้พักผ่อนและมีสังคมที่ดีกับมิตรสหาย
9. เวลา และจังหวะ (Time, Space, Rhythms) ตระหนักถึงการใช้เวลาและจังหวะชีวิตทีได้ดูแล

สุขภาพให้แก่ตนเอง มีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพโดยสอดคล้องกับวงจรธรรมชาติ
10. ระบบการบริหารจัดการที่ดี (Management and Operation System) มีการบริหารงานอย่าง

เป็นระบบ













การแบ่งประเภทสปา

       ตามคำนิยามของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดรูปแบบของธุรกิจประเภทสปาไว้ 3 แบบ ดังนี้
1. กิจการสปาเพื่อสุขภาพ
2. กิจการนวดเพื่อสุขภาพ
3. กิจการนวดเพื่อเสริมสวย


       กิจการสปาเพื่อสุขภาพคือ การประกอบกิจการที่ให้การดูแลเสริมสร้างสุขภาพ โดยประกอบไปด้วยบริการหลักและบริการเสริมประเภทต่างๆ
บริการหลักประกอบด้วย: การนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ
บริการเสริมคือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรจัดให้มีอยู่ในเมนู เพื่อเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ ให้มาใช้บริการบ่อยขึ้นและมีความหลากหลายในสปามากขึ้น ตัวอย่างของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น :
1. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2. การทำสมาธิและโยคะ
3. การอบเพื่อสุขภาพ
4. การแพทย์ทางเลือก
5. โภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร


       ตามคำนิยามของ The International Spa Association (ISPA- พ.ศ. 2538)แบ่งชนิดของสปาออกเป็น 7 ประเภทดังนี้
1. Club Spa คือสปาที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะสมาชิก (Member) โดยเน้นการให้ความสะดวกสบายและครบครับเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพร่างกาย พร้อมกับบริการด้านอื่น ๆ


2. Day Spa คือสปาที่ตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกต่อการเดินทางสำหรับลูกค้ามาใช้บริการ เช่น ในที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า หรือตามสนามบิน โปรแกรมการบริการค่อนข้างหลากหลาย ลักษณะผู้มาใช้บริการจะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จากการสำรวจพบว่าเป็นสปาที่เปิดให้บริการมากที่สุด


3. Hotel & Resort Spa คือสปาที่ตั้งอยู่ภายในหรือในบริเวณเดียวกันกับโรงแรมหรือรีสอร์ท ที่มีสถานที่ออกกำลังกาย อาหาร โปรแกรมบริการมักประกอบด้วย การนวดแบบต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายสำหรับผู้คนที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและหลีกหนีความจำเจในชีวิตประจำวัน มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับ Day Spa ทั่วไป


4. Cruise Ship Spa คือสปาที่ตั้งอยู่ในเรือ โปรแกรมการบริการประกอบด้วย การนวดแบบต่าง ๆ การออกกำลังกายกิจกรรมเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ


5. Mineral Spring Spa คือสปาที่ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เป็นแหล่งน้ำพุร้อน หรือน้ำแร่ธรรมชาติ โปรแกรมการบริการจะเน้นการบำบัดโดยการใช้ความร้อนของน้ำ หรือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ใช้เกลือมาเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดรักษา ตัวอย่างเช่น สปาที่ตั้งอยู่ตามแหล่งบ่อน้ำร้อน ในประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ประเทศไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติหลายแห่งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีในอนาคต เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ระนอง สุราษฎร์ธานี


6. Destination Spa คือสปาที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นหลักโดยมีที่พักอยู่ภายในนั้น มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพครบวงจร อาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย การให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มักจะมีความต้องการการพำนักอยู่เป็นระยะเวลานาน เพื่อผ่อนคลายและปรับปรุงวิถีชีวิตให้ดีขึ้น ปรับความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายที่ถูกต้อง โดยทีมงานที่เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาจัดโปรแกรมให้เหมาะสมกับลักษณะสุขภาพแต่ละคน มักตั้งอยู่ใกล้แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งธรรมชาตินั้นเข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรม เช่น ภูเขา ทะเล น้ำพุร้อน โคลน ฯลฯ


7. Medical Spa คือสปาที่ตั้งโดย พ.ร.บ.สถานพยาบาล โดยมีแพทย์ และพยาบาลดูแลกำกับ มีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดรักษาสุขภาพและความสวยงาม โปรแกรมการบริการประกอบด้วยโภชนาการบำบัดและอาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย กิจกรรมเพื่อสุขภาพ การนวดแบบต่าง ๆ การบำบัดและดูแลลูกค้าโดยใช้ความรู้ด้านสุขภาพ มีบริการทางการแพทย์ให้เลือก ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทย แผนจีน ฯลฯ มีโปรแกรมการนวดที่รักษาอาการเจ็บป่วย เช่น การนวดกดจุด การบำบัดด้วยสมุนไพร การปรับโครงสร้างร่างกาย การสะกดจิต การฝังเข็ม ศัลยกรรมผิวหนัง การต่อต้านริ้วรอย ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มักจะมีความต้องการการพำนักระยะยาวและการบำบัดที่ชี้เฉพาะ เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายที่ถูกต้อง การเลิกบุหรี่ เป็นต้น


       อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติยังเกิดความสับสนในการแยกประเภทให้ชัดเจน และบางประเภทยังมีความก้ำกึ่งกันในการให้บริการ จึงได้มีการแบ่งประเภทของสปาขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2551 โดยแบ่งสปาออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สปาแบบมีที่พัก (
From a spa)
2. สปาแบบไม่มีที่พัก (There are no spa)

ประเภทการบริการในสปา (Type in spa)
เป็นการจัดนำเสนอรายการทรีทเม้นท์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้เลือก โดยมีรายละเอียดแสดงให้ทราบถึงประโยชน์ของการทำทรีทเม้นท์ในแต่ละชนิด ส่วนผสมของการใช้ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำทรีทเม้นท์ ราคา แนวทางในการกำหนดรายการในสปาเมนู (Spa Menu) ของแต่ละกิจการจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดเด่นและความชำนาญของผู้ประกอบการ การบริการในสปาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
A. บริการหลัก
B. บริการเสริม
A. บริการหลักหมายถึง การให้บริการทรีทเม้นท์ที่จำเป็นต้องมีในสปา
ประเภทของการบริการหลัก ประกอบด้วย : การนวดเพื่อสุขภาพ และการใช้น้ำเพื่อสุภาพ
1. การนวดเพื่อสุขภาพ
1.1 การนวดแบบตะวันออก ได้แก่ การนวดกดจุดแบบราชสำนัก การนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ การนวดแบบญี่ปุ่น (Shiatsu) การนวดกดจุดแบบจีน (Reflexology) กานวดแบบอินเดีย (Ayuravedic Massage) และอื่น ๆ
1.2 การนวดแบบตะวันตก ได้แก่ การนวดอโรมาเทอราพี (Aromatherapy) การนวดแบบสวีดิช (Swedish) และอื่น ๆ
1.3 ทรีทเม้นท์ความงามและการนวดหน้า (Facial Massage) หลักเบื้องต้นในการทำทรีทเม้นท์หน้าประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ การล้างหน้า/การปรับสภาพผิว/การขัดหน้า/การนวดหน้า/การพอกหน้า/การบำรุงผิวหน้า
2. การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ


B. บริการเสริมคือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรจัดให้มีอยู่ในเมนู เพื่อเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าสนใจให้มาใช้บริการบ่อยขึ้นและมีความหลากหลายในสปามากขึ้น
ตัวอย่างของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
1. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2. การทำสมาธิและโยคะ
3. การอบเพื่อสุขภาพ
4. การแพทย์ทางเลือก
5. โภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร
สปาเมนู (Spa Menu or Sap A la Carte)
การเขียนสปาเมนู ควรประกอบไปด้วย
1. ชื่อทรีทเม้นต์
2. คำอธิบายเกี่ยวกับทรีทเม้นต์ อันได้แก่ ที่มา ประโยชน์ที่ลูกค้าพึงได้รับและสาระสำคัญ หากทรีทเม้นต์นั้นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เป็นส่วนประกอบ
3. เวลาที่ให้บริการ
4. ราคา
5. รูปภาพประกอบ


                      เท่านี้เพื่อนๆ ก็รู้จัก สปา (SPA) กันไปเยอะแล้วว่าง ๆ ก็ลองหาที่พักผ่อนน๊าา




29/5/57

ประกันชีวิต(Insurance) คืออะไร




ความหมายของประกันชีวิต
ประกันชีวิต
       คือ การเฉลี่ยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากคนหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ คน โดยมีผู้รับประกันภัยทำหน้าที่กระจากความเสี่ยงระหว่างผู้เอาประกันทั้งหมด ด้วยการให้ผู้เอาประกันจ่ายเงินจำนวนหนึ่งในรูปของ "เบี้ยประกัน" ให้แก่ผู้รับประกันไว้เป็นเงินกองกลาง เมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เอาประกัน ผู้รับประกันก็จะนำเงินกองกลางนั้นไปชดใช้ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน

การประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางหรือสูง โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี รายหกเดือน หรือรายสามเดือน การพิจารณารับประกันชีวิตมีทั้งแบบตรวจสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและอายุเป็นสำคัญ
2. ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างต่ำ จึงไม่มีการตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน อาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอยก็ได้ ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วัน
3. ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) คือการรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัย และใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ การประกันภัยประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยประกันภัย จะถูกกว่าการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับพนักงาน ในบริษัทต่าง ๆ
ประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
1. แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี สัญญาประกันชีวิตแบบนี้มีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยอันเกิดจากการเสียชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการสะสมทรัพย์รวมอยู่ด้วย จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาประกันอัคคีภัย เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วจึงไม่มีมูลค่าใด ๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกัน
2. แบบตลอดชีพ (Whole life Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยไม่คำนึงว่าจะเสียชีวิตเมื่อใด แต่ถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
3. แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่สัญญาครบกำหนด
4. แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยทั่วไปเงินได้ประจำจะจ่ายเป็นปีทุก ๆ ปี จนครบตามเงื่อนไขของสัญญา สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้เอาประกันภัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่เกษียณอายุการทำงานแล้ว


เหตุผลการซื้อประกันชีวิต





  • ลดหย่อนภาษี
  • เป็นการออมที่ดี
  • เป็นทุนการศึกษา
  • เป็นการออมทรัพย์เพื่อเกษียณ
  • เป็นค่าใช้จ่ายวันสุดท้ายของชีวิต
  • เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อครอบครัว
  • เป็นของขวัญให้คนที่รัก
  • ค้ำประกันหนี้สิน
  • ตายอย่างเศรษฐีเงินล้าน
  • สร้างหลักทรัพย์เพิ่มทันที
  • ประกันหัวหน้าครอบครัว
  • เป็นสวัสดิการคุ้มครองสุขภาพ
  • เป็นการประกันการขาดรายได้
  • ทำในขณะที่ยังทำได้


  • ทำไมคนเราถึงต้องทำประกันชีวิต

    เหตุผลที่คนซื้อประกันชีวิต
    1. Die Too Soon - ตายก่อนเวลาอันควร หมายถึง การทำประกันสำหรับบุคคลกลุ่มที่มี
    ความจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่นาน ๆ เนื่องจากมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบสูง การมีชีวิตอยู่เป็น
    สิ่งสำคัญมาก เช่น เจ้าของธุรกิจที่กู้เงินมาทำธุรกิจ หากเขาเหล่านั้นต้องมีอันจากไปก่อนเวลา
    อันควร ความรู้ความสามารถของเขาก็จะจบลงไปด้วย ใครจะเป็นผู้สืบทอดหรือสานต่อในสิ่งที่
    เขาได้ทำ และจะทำได้ดีไหม ถ้าหากมีการทำประกันชีวิตไว้ เงินที่ได้จากการประกันคงจะช่วยให้
    สิ่งที่เขาสร้างมาไม่ต้องสูญไป อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่หัวหน้าครอบครัวที่มีภาระต้องเลี้ยงดูสมาชิกใน
    ครอบครัว หากหัวหน้าครอบครัวจากไปก่อนเวลาอันสมควร คนที่เหลือจะทำอย่างไร ชีวิตคงจะ
    ต้องประสบกับความยากลำบาก คนที่มีลูกอนาคตที่เคยวางไว้ให้ลูกก็คงต้องจบลง คนที่ต้อง
    เลี้ยงดูพ่อแม่ แล้วใครจะช่วยดูแลต่อ
    2. Live Too Long - อยู่นานเกินไป หมายถึง การทำประกันสำหรับวางแผนอนาคตเมื่อเวลา
    ที่อายุมากขึ้นไม่สามารถทำงานหารายได้อีกต่อไป เช่นวัยเกษียณ หากไม่มีการวางแผนทางการ
    เงินอย่างรอบครอบ บุคคลเหล่านี้จะมีชีวิตในวัยเกษียณที่ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่มีเงินเก็บ 
    หรือมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในบั้นปลายของชีวิต เช่น ค่ากินอยู่ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น สร้างความ
    เดือดร้อนให้กับลูกหลานที่ต้องคอยดูแล
    3. Critical Illness - มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง หมายถึง การทำประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต
    และสุขภาพต่อความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดัน โรคเส้นเลือด
    ในสมอง เป็นต้น หากบุคคลใดไม่มีการทำประกันไว้ แล้วเกิดเป็นโรคร้ายแรงเกิดขึ้น ลองคิดดูว่า
    ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะเป็นอย่างไร ลำพังแค่เงินเก็บออมในธนาคารอาจจะไม่เพียงพอต่อการ
    เจ็บป่วยเพียงแค่ครั้งเดียว ถ้าโชคดีรักษาหาย ก็คงต้องเริ่มเก็บเงินกันใหม่ แต่ถ้าโชคไม่ดีรักษา
    ไม่หาย ชีวิตจะเป็นอย่างไร
    4. Disability - พิการหรือทุพพลภาพ หมายถึง การทำประกันเพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในกรณี
    ที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย แล้วไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม ความสามารถใน
    การหารายได้จะสูญเสียไปทันที แต่ในขณะที่ยังคงต้องดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป คนเหล่านี้จะทำอย่างไร 
    จะหารายได้จากที่ไหน หรือจะหันไปขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง คงจะดีไม่น้อยถ้ามีการป้อง
    กันไว้ เวลาที่จำเป็นต้องใช้ก็จะได้ใช้ทันที




















    มีเงื่อนไขอย่างไร ? เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์

    เงื่อนไขการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์มีดังนี้
    1.  แบบประกันที่จะขอเปลี่ยนใหม่จะต้องเป็นแบบประกันที่บริษัทเปิดขายอยู่ ณ วันที่เริ่ม
    สัญญาประกันภัยและยังคงให้ขายได้ ณ วันที่ขอเปลี่ยนแบบ
    2.  แบบประกันใหม่ที่ขอเปลี่ยน เบี้ยประกันสัญญาหลักใหม่ต้องสูงกว่าเบี้ยประกันสัญญา

    หลักเดิม
    3.  อายุกรมธรรม์  ณ วันที่ขอเปลี่ยนแบบประกันไม่เกิน 1 ปี
    4.  ใช้สิทธิได้ในวันครบรอบการชำระเบี้ยประกันภัย
    5.  กรมธรรม์แบบชำระเบี้ยครั้งเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแบบการประกันภัยได้





    บริษัทประกันชีวิตของไทย (Insurance Company)
    • กรุงเทพประกันชีวิต
    • กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต
    • เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)
    • ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต
    • ไทยประกันชีวิต
    • ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต
    • ไทยรีประกันชีวิต
    • ไทยสมุทรประกันชีวิต
    • ธนชาตประกันชีวิต
    • บางกอกสหประกันชีวิต
    • ประกันชีวิตนครหลวงไทย(เดิมบจ.แมกซ์)
    • พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)
    • ฟินันซ่าประกันชีวิต
    • โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย)
    • เมืองไทยประกันชีวิต
    • แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย)
    • ไทยซัมซุง ประกันชีวิต(เดิมสยามซัมซุง)
    • ทิพยประกันชีวิต (เดิม สยามประกันชีวิต)
    • สหประกันชีวิต
    • เอไอเอ ประเทศไทย
    • อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต
    • อาคเนย์ประกันชีวิต
    • เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์
    • แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต
    • ไอเอ็นจี ประกันชีวิต
    • ซิกน่า ประกันภัย








    บริษัทประกันวินาศภัย (life Insurance Companies)

    • กมลประกันภัย
    • กรุงเทพประกันภัย
    • กรุงไทยพานิชประกันภัย
    • คิวบีอี ประกันภัย
    • คูเนียประกันภัย
    • จรัญประกันภัย
    • ทิพยประกันภัย
    • เทเวศประกันภัย
    • ไทยประกันภัย
    • ไทยพัฒนาประกันภัย
    • ไทยศรีประกันภัย
    • ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
    • ธนชาตประกันภัย
    • นวกิจประกันภัย
    • นำสินประกันภัย
    • บางกอกสหประกันภัย
    • ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย
    • บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย)
    • ประกันคุ้มภัย
    • ประกันภัยไทยวิวัฒน์
    • โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย
    • พุทธธรรมประกันภัย
    • เมืองไทยประกันภัย
    • วิริยะประกันภัย
    • ศรีอยุธยา แคปปิตอล
    • ศูนย์สุขภาพประเทศไทย
    • ส่งเสริมประกันภัย
    • สยามซิตี้ประกันภัย
    • สหมงคลประกันภัย
    • สมโพธิ์ เจแปน นิปปอนโคอะ ประกันภัย (ประเทศไทย)
    • ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย
    • สินทรัพย์ประกันภัย
    • สินมั่นคงประกันภัย
    • อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย
    • เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย
    • อาคเนย์ประกันภัย
    • อินทรประกันภัย
    • เอเชียประกันภัย
    • เอราวัณประกันภัย
    • แอกซ่าประกันภัย
    • แอลเอ็มจี ประกันภัย
    • ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย



    ประกันสุขภาพ (company health insurance)

    • เอไอเอ ประเทศไทย
    • ซิกน่า ประกันภัย
    • เมืองไทย
    • อลิอันซ์อยุธยา‎

    • ไทยประกันชีวิต





    23/5/57

    กลิ่นตัว บอกยังไงไม่ให้เค้าเสียเซลฟ์



       วันนี้ขอพูดเรื่องใต้วงแขนที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เอาเข้าจริงมันเป็นปัญหาระดับชาติสำหรับใครหลายๆ คนกันเลยล่ะว่าปะ เรื่องของเรื่องก็คือเมื่อวันก่อนช่วงว่างงานทิชชี่ก็แวบเข้าเน็ตไปอ่านนู่นอ่านนี่เรื่อยเปื่อยจนไปเจอกระทู้อันนึงน่าสนใจดีแถมได้ยินมาว่าเป็นกระทู้ทอล์คมากๆ เลยนะ ประมาณว่ามีผู้ชายคนนึงเค้าแอบชอบผู้หญิงที่มีกลิ่นตัวแรงมว้าก ฮีก็ไม่รู้จะบอกเจ้าหล่อนยังไงดี นึกออกมะว่ามันเหมือนภาวะน้ำท่วมปากอะ บอกไปก็กลัวเธอพาลจะงอนเตลิดเปิดเปิงจบข่าวกันไป ดูไปดูมา ทิชชี่ก็เลยมานั่งคิดนะว่าถ้าทิชชี่เจอภาวะแบบนี้กับตัวเองจะทำไง ถ้าจะให้เป็นแม่พระทนกลิ่นตัวไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ไหว แล้วเราเองก็ไม่อยากให้แฟนเราเสียบุคลิกกับเรื่องกลิ่นตัวด้วย เพื่อนทิชชี่ก็เลยแนะนำว่าให้ไปดูคลิปวีดีโอกิ๊บเก๋ของ  ซะแล้วจะถึงบางอ้อ เค้านำเสนอวิธีการสะกิดบอกคนข้างๆ เรื่องกลิ่นตัวได้แบบน่ารักมากๆ เลยแหละ แถมยังไม่ทำให้คนสำคัญของเรานอยด์เสียความรู้สึกหรือขาดความมั่นใจอีกด้วย ถ้าอยากรู้ว่า Rexona เค้ามีไอเดียเด็ดๆ ยังไงก็ดูคลิปด้านล่างได้เลยนะจ๊ะ บอกเลยว่าเวิร์คมั่กๆ จ้า



    22/5/57

    เรื่อง ไข่ ไข่ กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์


      "เรื่อง ไข่ ไข่ กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์" (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย)

                ไข่ถือเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณค่า ราคาถูก หาได้ง่าย และเหมาะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท ทั้งคาวและหวาน ไข่เป็นอาหารที่เหมาะกับเด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไข่มีประโยชน์และให้สารอาหารที่จำเป็นหลายอย่าง จนถึงกับว่าไข่เป็นอาหารบำรุงร่างกายทีเดียว การบริโภคไข่อย่างชาญฉลาดก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคทางโภชนาการได้


        คุณค่าทางโภชนาการของไข่

         ชนิดของไข่ (น้ำหนักดิบ 100 กรัม)พลังงาน (กิโลแคลอรี่) โปรตีน(กรัม)  ไขมัน(กรัม)แคลเซียม(มิลลิกรัม)  
         ฟอสฟอรัส เหล็กวิตามินเอ(ไมโครกรัม)
         ไข่ไก่ทั้งฟอง160  12.311.7 126204  1.6272 
         ไข่เป็ดทั้งฟอง186 12.3 14.3156 214 0.9 296 
        ไข่จะละเม็ด (ไข่เต่าตะนุ) 141 12.58.9 95 129  1.0327 
         ไข่นกกระทา 171 13.312.0 153 167  3.5143 


      คอเลสเตอรอลกับการบริโภคไข่

                คอเลสเตอรอลที่มีในไข่จะอยู่เฉพาะในไข่แดง ไข่ขาวไม่มีคอเลสเตอรอล ในไข่แดงยังมีเลซิธิน (Lecithin) ที่เป็นสารที่ช่วยบำรุงประสาทและสมองด้วย

                แต่ถึงจะดีอย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นคนที่อยู่กลุ่มเสี่ยง เช่น คนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็จะแนะนำว่าต้องระวังในเรื่องของการบริโภคไข่ด้วย โดยเฉพาะในไข่แดง การได้รับคอเลสเตอรอลในร่างกายไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน โดยในไข่หนึ่งฟอง ไข่ไก่มีคอเลสเตอรอลประมาณ 200 มิลลิกรัม ไข่เป็ด 250 มิลลิกรัม ไข่นกกระทาประมาณ 50 มิลลิกรัม เพราะฉะนั้น ถ้ากินไข่ 1 ฟอง ก็จะได้คอเลสเตอรอลไปแล้ว 200 มิลลิกรัม



      ควรจะกินไข่วันละกี่ฟอง

                 1. เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้กินไข่แดงต้มสุกผสมกับข้าวบด ให้ครั้งแรกปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ส่วนเด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไปจนถึงวัยรุ่น บริโภคได้วันละ 1 ฟอง

                 2. คนทำงานสุขภาพปกติ บริโภค 3-4 ฟองต่อสัปดาห์

                 3. ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคไข่ 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์

       กินอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

                ควรบริโภคไข่สุก เพราะไข่ไม่สุกเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไข่ขาวที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน นอกจากนี้ ไข่ไม่สุกจะย่อยยาก ทำให้ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ และที่สำคัญ ผู้บริโภคควรบริโภคอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อผักและผลไม้สดควบคู่ไปกับการออกกำลังกายให้สมวัยและอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันส่วนเกินให้เป็นปกติ


      จะเลือกซื้อและเก็บไข่อย่างไร

                 1. เลือกซื้อไข่ที่สด ใหม่ เปลือกไข่ไม่แตกหรือบุบร้าว
                
                 2. เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด
                
                 3. ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่
                
                 4. ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (เก็บโดยเอาด้านแหลมลง เอาด้านป้านขึ้น)
                
                 5. ควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากซื้อ




    Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

     
    Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes