ประกันชีวิต
คือ การเฉลี่ยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากคนหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ คน โดยมีผู้รับประกันภัยทำหน้าที่กระจากความเสี่ยงระหว่างผู้เอาประกันทั้งหมด ด้วยการให้ผู้เอาประกันจ่ายเงินจำนวนหนึ่งในรูปของ "เบี้ยประกัน" ให้แก่ผู้รับประกันไว้เป็นเงินกองกลาง เมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เอาประกัน ผู้รับประกันก็จะนำเงินกองกลางนั้นไปชดใช้ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน
การประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางหรือสูง โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี รายหกเดือน หรือรายสามเดือน การพิจารณารับประกันชีวิตมีทั้งแบบตรวจสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและอายุเป็นสำคัญ
2. ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างต่ำ จึงไม่มีการตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน อาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอยก็ได้ ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วัน
3. ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) คือการรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัย และใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ การประกันภัยประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยประกันภัย จะถูกกว่าการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับพนักงาน ในบริษัทต่าง ๆ
ประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
1. แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี สัญญาประกันชีวิตแบบนี้มีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยอันเกิดจากการเสียชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการสะสมทรัพย์รวมอยู่ด้วย จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาประกันอัคคีภัย เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วจึงไม่มีมูลค่าใด ๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกัน
2. แบบตลอดชีพ (Whole life Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยไม่คำนึงว่าจะเสียชีวิตเมื่อใด แต่ถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
3. แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่สัญญาครบกำหนด
4. แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยทั่วไปเงินได้ประจำจะจ่ายเป็นปีทุก ๆ ปี จนครบตามเงื่อนไขของสัญญา สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้เอาประกันภัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่เกษียณอายุการทำงานแล้ว
เหตุผลการซื้อประกันชีวิต
ทำไมคนเราถึงต้องทำประกันชีวิต
เหตุผลที่คนซื้อประกันชีวิต
1. Die Too Soon - ตายก่อนเวลาอันควร หมายถึง การทำประกันสำหรับบุคคลกลุ่มที่มี ความจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่นาน ๆ เนื่องจากมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบสูง การมีชีวิตอยู่เป็น สิ่งสำคัญมาก เช่น เจ้าของธุรกิจที่กู้เงินมาทำธุรกิจ หากเขาเหล่านั้นต้องมีอันจากไปก่อนเวลา อันควร ความรู้ความสามารถของเขาก็จะจบลงไปด้วย ใครจะเป็นผู้สืบทอดหรือสานต่อในสิ่งที่ เขาได้ทำ และจะทำได้ดีไหม ถ้าหากมีการทำประกันชีวิตไว้ เงินที่ได้จากการประกันคงจะช่วยให้ สิ่งที่เขาสร้างมาไม่ต้องสูญไป อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่หัวหน้าครอบครัวที่มีภาระต้องเลี้ยงดูสมาชิกใน ครอบครัว หากหัวหน้าครอบครัวจากไปก่อนเวลาอันสมควร คนที่เหลือจะทำอย่างไร ชีวิตคงจะ ต้องประสบกับความยากลำบาก คนที่มีลูกอนาคตที่เคยวางไว้ให้ลูกก็คงต้องจบลง คนที่ต้อง เลี้ยงดูพ่อแม่ แล้วใครจะช่วยดูแลต่อ 2. Live Too Long - อยู่นานเกินไป หมายถึง การทำประกันสำหรับวางแผนอนาคตเมื่อเวลา ที่อายุมากขึ้นไม่สามารถทำงานหารายได้อีกต่อไป เช่นวัยเกษียณ หากไม่มีการวางแผนทางการ เงินอย่างรอบครอบ บุคคลเหล่านี้จะมีชีวิตในวัยเกษียณที่ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากไม่มีเงินเก็บ หรือมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในบั้นปลายของชีวิต เช่น ค่ากินอยู่ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น สร้างความ เดือดร้อนให้กับลูกหลานที่ต้องคอยดูแล 3. Critical Illness - มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง หมายถึง การทำประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต และสุขภาพต่อความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดัน โรคเส้นเลือด ในสมอง เป็นต้น หากบุคคลใดไม่มีการทำประกันไว้ แล้วเกิดเป็นโรคร้ายแรงเกิดขึ้น ลองคิดดูว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะเป็นอย่างไร ลำพังแค่เงินเก็บออมในธนาคารอาจจะไม่เพียงพอต่อการ เจ็บป่วยเพียงแค่ครั้งเดียว ถ้าโชคดีรักษาหาย ก็คงต้องเริ่มเก็บเงินกันใหม่ แต่ถ้าโชคไม่ดีรักษา ไม่หาย ชีวิตจะเป็นอย่างไร 4. Disability - พิการหรือทุพพลภาพ หมายถึง การทำประกันเพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในกรณี ที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย แล้วไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม ความสามารถใน การหารายได้จะสูญเสียไปทันที แต่ในขณะที่ยังคงต้องดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป คนเหล่านี้จะทำอย่างไร จะหารายได้จากที่ไหน หรือจะหันไปขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง คงจะดีไม่น้อยถ้ามีการป้อง กันไว้ เวลาที่จำเป็นต้องใช้ก็จะได้ใช้ทันที มีเงื่อนไขอย่างไร ? เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์
บริษัทประกันชีวิตของไทย (Insurance Company)
|
บริษัทประกันวินาศภัย (life Insurance Companies)
- กมลประกันภัย
- กรุงเทพประกันภัย
- กรุงไทยพานิชประกันภัย
- คิวบีอี ประกันภัย
- คูเนียประกันภัย
- จรัญประกันภัย
- ทิพยประกันภัย
- เทเวศประกันภัย
- ไทยประกันภัย
- ไทยพัฒนาประกันภัย
- ไทยศรีประกันภัย
- ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
- ธนชาตประกันภัย
- นวกิจประกันภัย
- นำสินประกันภัย
- บางกอกสหประกันภัย
- ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย
- บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย)
- ประกันคุ้มภัย
- ประกันภัยไทยวิวัฒน์
- โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย
- พุทธธรรมประกันภัย
- เมืองไทยประกันภัย
- วิริยะประกันภัย
- ศรีอยุธยา แคปปิตอล
- ศูนย์สุขภาพประเทศไทย
- ส่งเสริมประกันภัย
- สยามซิตี้ประกันภัย
- สหมงคลประกันภัย
- สมโพธิ์ เจแปน นิปปอนโคอะ ประกันภัย (ประเทศไทย)
- ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย
- สินทรัพย์ประกันภัย
- สินมั่นคงประกันภัย
- อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย
- เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย
- อาคเนย์ประกันภัย
- อินทรประกันภัย
- เอเชียประกันภัย
- เอราวัณประกันภัย
- แอกซ่าประกันภัย
- แอลเอ็มจี ประกันภัย
- ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย
ประกันสุขภาพ (company health insurance)
- เอไอเอ ประเทศไทย
- ซิกน่า ประกันภัย
- เมืองไทย
อลิอันซ์อยุธยา
- ไทยประกันชีวิต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น