ปกติสารน้ำในกระเพาะจะเป็นน้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อกระเพาะทะลุกรดในกระเพาะจะหลั่งออกมาในช่องท้อง ทำให้เยื่อบุช่องท้อง peritoneum อักเสบเรียกช่องท้องอักเสบ peritonitisซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
อาการที่สำคัญของกระเพาะทะลุ ได้แก่
- เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน เจ็บบริเวณลิมปี่ อาจจะร้าวไปไหล่
- อายุที่พบบ่อย 48 ปี
- ร้อยละ 29 ของผู้ป่วยจะมีประวัติเป็นแผลโรคกระเพาะ
- ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยมีประวัติการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
- ร้อยละ50ของผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากอาการที่สำคัญคือ อาการปวดท้องเฉียบพลัน ร่วมกับการตรวจร่างกายพบว่าชีพขจรจะเร็ว หากป่วยมานานจะมีความดันโลหิตต่ำ การตรวจร่างกายที่สำคัญคือท้องจะอืด เมื่อเคาะบริเวณตับจะพบว่าเคาะโปร่ง(ปกติจะเคาะทึบ) การวินิจฉัยที่สำคัญคือการ X-ray ปอดท่ายืนจะพบอากาศในช่องท้อง
สาเหตุของกระเพาะทะลุ
- สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่การติดเชื้อ H. pylori
- การใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
การรักษากระเพาะทะลุ
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
โดยปกติการผ่าตัดจะได้ผลดีเมื่อผ่าตัดภายใน 8 ชั่วโมง หากเกิน 12 ชั่วโมงผลการผ่าตัดจะไม่ดี เนื่องจากกระเพาะทะลุจะมีโอกาศที่แผลทะลุจะหายได้เอง ประกอบกับผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงหากผ่าตัด ดังนี้ผู้ป่วยที่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะใช้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด
- มีโรคประจำตัวเช่นโรคหัวใจ โรคปอด
- ผู้ป่วยมีอาการมากกว่า 12 ชั่วโมงและอาการไม่เป็นมากขึ้นซึ่งเชื่อว่าแผลทะลุหายเองได้
วิธีการรักษา
- จะใส่สายเข้าทางจมูกและดูดเอาน้ำย่อยออกให้หมด
- ให้น้ำเกลือ
- ยาแก้ปวด
- ยาปฏิชีวนะ
จะต้องติดตามผู้ป่วยโดยใกล้ชิดหากอาการปวดท้องเป็นมากขึ้น หรือสัญญาณชีพไม่ดีจะทำการผ่าตัด
การผ่าตัด
การผ่าตัดเพื่อรักษากระเพาะทะลุมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นกับสภาพผู้ป่วย ระยะเวลาตั้งแต่ปวดจนมาถึงโรงพยาบาล และความเชี่ยวชาญของแพทย์
การรักษาอื่น
จะต้องให้ยารักษา H. pylori ด้วยยา Metronidazole และ Amoxycillin หรือ Tetracycline และยากระเพาะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น