โรคสะเก็ดเงินคืออะไร
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยชนิดหนึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Psoriasis” โรคนี้เกิดจากเหตุปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค สารเคมีหรือสภาวะทางฟิสิกส์ที่เป็นพิษต่อผิวหนังโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติหลายชนิดร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่ไม่เหมาะสมมากระตุ้นให้โรคปรากฏขึ้น อาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง (Erythematous plaque) ลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน หรือเกิดขึ้นพร้อมๆกับอาการผื่นผิวหนังอักเสบ
โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่
โรคสะเก็ดเงินไม่ติดต่อ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย จึงไม่ต้องกังวลที่จะติดโรคนี้
โรคสะเก็ดเงินพบบ่อยแค่ไหน
โรคสะเก็ดเงินพบประมาณร้อยละ 1- 2 ของประชากรทั่วโลก ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ใกล้เคียงกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่อมีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงอุบัติการณ์ และความชุกของโรคในประชากรทั่วไป จากสถิติผู้ป่วยที่มาตรวจที่แผนกผิวหนังของโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ พบได้ประมาณ 10 % ในปัจจุบัน สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรม กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนัง เจริญเร็วกว่าปกติจากที่ใช้เวลา 28 – 30 วันในการเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน วงจรนี้จะลดลงเหลือเพียง 2 – 3 วัน ทำให้ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและมีสะเก็ดจำนวนมาก
การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงิน ทำได้อย่างไร
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินจากการตรวจรอยโรคของผู้ป่วย ไม่ต้องการการตรวจเลือด หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ในกรณีย์พิเศษที่พบน้อยมากคือ รอยโรคมีลักษณะต่างไปจากรอยโรคมาตรฐาน อาจต้องทำการตัดตัวอย่างผิวหนังไปตรวจทางพยาธิวิทยา
ผื่นสะเก็ดเงินมีกี่แบบ
รอยโรคสะเก็ดเงินที่พบบ่อยที่สุดคือ มากกว่า 80% ของผู้ป่วย มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน หนา รูปร่างกลม และมีสะเก็ดจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบผื่นผิวหนังได้อีกหลายลักษณะ คือ
- ผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป บริเวณลำตัวและแขนขา
- ผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป บริเวณลำตัวและแขนขา
- ผื่นเป็นตุ่มหนองตื้นบนรอยโรคสีแดง
- ผื่นแดงอักเสบบริเวณซอกรักแร้ ซอกขา
- ผื่นแดงลอกทั้งตัว
ผื่นสะเก็ดเงินพบบริเวณใดของร่างกายบ้าง
ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ หนังศีรษะ ผิวหนังที่มีการเสียดสี แกะเกาเช่น ศอก เข่า ลำตัว ก้นกบ แต่ก็สามารถพบได้ทุกแห่งของร่างกาย ได้แก่ เล็บ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ เป็นต้น การกระจายของผื่น มักจะเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย
ใครมีโอกาสเป็นสะเก็ดเงินได้บ้าง
การคาดการณ์ว่าจะเกิดสะเก็ดเงินหรือไม่ สามารถทำได้แม่นยำ ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน 1 ใน 3จะมีประวัติญาติเป็นสะเก็ดเงินด้วย แต่การเกิดโรคไม่ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
โรคสะเก็ดเงินจะกำเริบได้จากสาเหตุใดบ้าง
สิ่งแวดล้อมที่มีหลักฐานว่ากระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ การเสียดสี การกระทบกระแทกแกะเกา บาดแผล ปัจจัยทางจิตใจและสังคมเช่น ความเครียด การดื่มเหล้า โรคติดเชื้อ คออักเสบ สารเคมีบางอย่าง เช่น ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า ยาจิตเวช เช่น Lithium ยาต้านมาเลเรีย เป็นต้น
โรคสะเก็ดเงินมีอาการอื่น นอกจากผื่นผิวหนังหรือไม่
ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงินพบได้ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย และมักพบความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย อาการปวดข้อคล้ายโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่อาการรุนแรงน้อยกว่า ข้อและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ จะมีการอักเสบบวม หากไม่ได้รับการักษาที่ถูกต้อง จะมีการทำลายของข้อ และ ทำให้ข้อผิดรูปถาวรได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
การดำเนินโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเห่อและสงบสลับกันไป ระยะเวลาโรคสงบอาจสั้นเป็นสัปดาห์ หรือยาวนานได้หลายปี ส่วนใหญ่โรคจะสงบจากการได้รับการรักษาที่เหมาะสม และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่กล่าวข้างต้น
การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
ที่สำคัญโรคสะเก็ดเงินเป็นโรครักษาไม่หายขาด มีแต่ทำให้ทุเลาหรือหายไปชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินนั้นใช้ยาทาเป็นหลัก ใช้ยาทากลุ่มน้ำมันดิน ยาทากลุ่มสตีรอยด์ หรือใช้ยากิน เช่น ยาที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังคือยาเมโทร-เทรกเสต (Methotrexate) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้เกิดตับอักเสบและตับแข็งได้
วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินนั้นใช้ยาทาเป็นหลัก ใช้ยาทากลุ่มน้ำมันดิน ยาทากลุ่มสตีรอยด์ หรือใช้ยากิน เช่น ยาที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังคือยาเมโทร-เทรกเสต (Methotrexate) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้เกิดตับอักเสบและตับแข็งได้
พวกยากลุ่มกรดวิตามินเอที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ เพราะจะทำให้ทารกพิการ หากได้ยาตัวนี้อยู่ต้องงดยานาน ๒-๓ ปีจึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
การกินยารักษาโรคสะเก็ดเงินต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังเท่านั้น
มีอีกวิธีที่นิยมใช้กันมากคือรักษาด้วยการฉายแสง แต่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะให้รักษาด้วยวิธีใด เพราะอาการของแต่ละคนมากน้อยไม่เท่ากัน
การกำเริบของโรคสะเก็ดเงินนั้นเกิดจากอารมณ์ของผู้ป่วยเป็นหลัก เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยเกิดความเครียด หรือวิตกกังวลก็จะเกิดปื้นสะเก็ดเงินขึ้นมาทันที แต่เมื่อ พักผ่อนหรือผ่อนคลายลงแล้วอาการก็จะดีขึ้นเอง
สำหรับวิธีป้องกันโรคสะเก็ดเงินก็คือ พยายามทำจิตใจให้เบิกบานเข้าไว้ นอนหลับพักผ่อนมากๆ ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง
บางครั้งยาหม้อที่ได้รับอาจมีการเจือปนสารอันตราย เช่น สารหนูหรือสเตียรอยด์ ที่อาจทำให้ดูเหมือนว่าอาการดีขึ้นในช่วงแรก แต่จะกลับกำเริบมากขึ้นและเกิดเป็นโรคสะเก็ดเงินแบบตุ่มหนองที่มีอันตรายมากได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น